วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  • คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย ทรอดแทรกความรู้ทางคณิตศาสตร์ผ่านประสบการณ์ให้เด็กได้เห็นภาพจริง เช่น การเช็คชื่อเด็ก 
  • นำเสนอตัวอย่างการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
                         

สิ่งที่ทรอดคล้องทางคณิคศาสตร์
-เรื่องการนับบอกจำนวน
-เรื่องการเรียงลำดับ
-เลขฮินดูอารบิก
-เรื่องการเพิ่มและลด

  • สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
1. จำนวน / การดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พืชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูล / ความน่าจพเป็น
6.ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์

  • ความคิดเชิงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
-นับเลข 1-20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรี่ยบเที่ยบ / เรียงลำดับ

2. มีความรู้เข้าใจพื้นฐาน  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา
-เปรียบเทียง เรียงลำดับ วัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักธนบัตร / เหรียญ
-เข้าใจเวลา

3. ความรู้พื้นฐานทางเรขาคณิต 
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิต 3 มิติ 2 มิติ  

4. มึความเข้าใจรูปร่าง ขนาด สี
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
6.มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น 

เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า   อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว   หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ  ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า

เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก   หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ   หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

เพลงหนึ่งปีมีสิบสิงเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน  
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ 

เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว   อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน   เดินตามเพื่อนให้ทัน 
ระวังเดินชนกัน   เข้าแถวพลันว่องไว

เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง   แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า  แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลงขวดห้าใบ
ขวด......ใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ่งตกลงมา
คงเหลือขวด........ใบวางอยู่บนกำแพง
(เติมจำนวนลงไป)


ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการตอบคำถาม
-การพูดหน้าชั้นเรียน

การประยุกต์ใช้ 
     -สามารถนำคณิตศาตร์ไปทรอดแทรกในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้เรียนรู้และเห็นภาพจริง

บรรยากาศในห้องเรียน
     โต๊ะเก้าอี้เพียงพอ แสงเพียงพอ วัสดุพร้อมในการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
     มีการเตรียมการสอนอย่างดี อธิบายละเอียด ยกตัวอย่างให้ทำจริง 

วิเคราะห์ตนเอง
    ตั้งใจเรียนและนำเสนองานได้ดี

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน 
  • ตั้งประเด็นปัญหาในการแจกกระดาษที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนคนซึ่งเป็นการทรอดแทรกคณิตศาสตร์ การบวก ลบ เข้าไป สามารถทรอดแทรกคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันกับเด็กๆได้ เช่น การแจกนม
  • การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งแยก 3 ส่วน ดังนี้
1. การจัดประสบการณ์ เช่น
-ความหมายการจัดประสบการณ์
-ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์
-หลักการและแนวทาง
-ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

2. คณิตศาสตร์ เช่น
-ความหมายคณิตศาสตร์
-สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-ทักษะทางคณิตศาสตร์

3. เด็กปฐมวัย เช่น
-ความหมายของเด็กปฐมวัย
-พัฒนาการ 
-ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์ และ บรูเนอร์
-การเรียนรู้
-ทฤษฎีการเรียนรู้

*พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กที่บ่งบอกว่าเด็กจะทำอะไรได้บ้างในระดับอายุ ที่แสดงออกถึงพฤติกรรม เช่น ความต้องการ

ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะในการแก้ปัญหา
-ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้ 
     -นำการเข้าสู่บทเรียนด้วยประเด็นปัญหาไปใช้เพื่อทรอดแทรกคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้

บรรยากาศในห้องเรียน
     วัสดุอุปกรณ์พร้อมในการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
     เตรียมการสอนอย่างดี ใช้ประเด็นปัญหาในการเข้าสู่บทเรียนและอธิบายรายละเอียดงาน

วิเคราะห์ตนเอง
     ตั้งใจเรียน เมื่อมีข้อสงสัยก็ถามรายละเอียด
 สรุปวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้วิจัย :    คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
วามสำคัญ
          การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความหลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น

ความมุ่งหมายของการวิจัย
              เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวยก่อนและหลังไดรบการจัดกิจกรรมศิลปะสรางสรรคเพื่อการเรียนรู

ขอบเขตการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย              
         ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน
     
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น

กลุ่มทดลอง 
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
              2.1. การบอกตำแหนง
              2.2. การจำแนก
              2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30
              2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 –20
              2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 – 10

สมมุติฐานในการวิจัย
               เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

วิธีดำเนินการวิจัย
              ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดั้งต่อไปนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย    
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86

สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น

2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



         การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก เช่น 
-  การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
-  เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-  การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร

   สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้กำหนดคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ ว่าควรมีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้
  • เด็กอายุ 3 ปี 
       -มีความรู้ เชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
       -มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร 
       -มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม             ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ 
  • เด็กอายุ 4 ปี 
       -มีความรู้ เชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ 
      -มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตรเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
      -มีความรู้ เกี่ยวกับตำแหน่ง จำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยม           มุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
      -มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถ        ทำตามแบบรูปที่กำหนด
  •  เด็กอายุ 5 ปี
     -มีความรู้ เชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ     
     -มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถบอกชนิดและค่า         ของเงินเหรียญและธนบัตร
     -มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง อธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต       สองมิติที่ เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ 
     -มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง 


เทคนิคจูงใจ >>ให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกประการหนึ่งคือ ให้เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรม และเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไปนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

            สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


โรงเรียนสปริงฟิลด์ เมืองเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา



           การเรียนการสอนของเด็กๆชั้นอนุบาล 2 
  • เป็นการสอนแบบรูปธรรมไปสู่นามธรรม สอนโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ถ้วยกระดาษเป็นสิ่งของในการเคลื่อนย้ายจากโต๊ะสิ่งของ ไปสู่ โต๊ะคณิตศาสตร์ (ถ้วย 1 อันแทน 1 จำนวน) เพื่อให้เห็นภาพการคำนวณและการใช้สัญลักษณ์ และสัญลักษณ์เป็นการช่วยให้มีจุดหมายชัดเจนมากขึ้น การใช้สัญลักษณ์คือ เครื่องหมายเท่ากับ ใช้สัญลักษณ์การสะบัดนิ้วนับ                                                                      
  • จากนั้นนำตัวเลขมาต่อยอดโดยการสอนบวกเลขในจำนวนมากขึ้นแต่ยังคงใช้เลขเดิมเป็นฐานแต่เพิ่มศูนย์เข้าไป  เป็นหลักต่างๆ ขณะเดียวกันครูก็ประเมินเด็กแต่ละคน โดยให้เด็กเขียนลงกระดานพร้อมกับออกเสียง เป็นการกระตุ้นให้เด็กใช้องค์ประกับการมองเห็นและการออกเสียง                                                                                                                                             
  •  ต่อมาใช้การ์ดในการเชื่อมโยงถ้วยโดยสอนการนับสองหลักเช่น... สามสิบ บวก สองสิบ เท่ากับ...ห้าสิบ เมื่อรู้หลักการแทนค่าแล้ว ครูจึงเพิ่มตัวเลขเข้าไปแทนหลักสิบ เช่น... สามสิบสอง บวก สองสิบหนึ่ง เท่ากับ ห้าสิบสาม  ทำให้เด็กเห็นตัวเลขที่แทนที่อยู่   จากนั้นครูให้เด็กๆฝึกทำเพื่อความคล่องแคล่วมากขึ้น                       

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน 
         -อาจารย์แจกกระดาษให้ 1 แผ่น ต่อ 3 คนและให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนลักษณะเด่นของตนเอง ที่สามารถบ่งบอกตัวตนให้ได้มากที่สุด และอาจารย์สังเกตลักษณะว่าตรงกับใคร เพราะในอนาคตเราเป็นครูปฐมวัยควรที่จะสังเกตลักษณะของเด็กทุกๆคนและจำชื่อเด็กให้ได้ วิธีที่จะช่วยให้จำง่ายขึ้นคือเรา
ต้องหาจุดเด่นของเด็กแต่ละคน 

          -ต่อมาอาจารย์อาจารย์จึงตั้งประเด็นคำถามว่า การที่เราแจกกระดาษให้ 3 คนต่อ 1 แผ่น เรามีวิธีไหนบ้างที่จะสามารถแจกกระดาษให้เร็วและสะดวกที่สุด เพื่อนๆต่างช่วยกันคิดและแก้ปัญหา และการแจกกระดาษและแบ่งกัน สามารถเชื่อมโยงการ บวก ลบ เลขเพื่อไปสอนเด็กได้อีกด้วย

         -ท้ายชั่วโมงอาจารย์สอนวิธีการทำบล็อกเกอร์ และ บอกขั้นตอนต่างๆ ในการใส่ข้อมูลลงไปให้เป็นแฟ้มสะสมงานของเรา ที่มีทั้งความรู้ต่างๆมากมายเกี่ยวกับวิชานี้

ทักษะ / ระดมความคิด
         -ได้ช่วยกันคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆร่วมกันในเรื่องการแบ่งกระดาษ และได้ใช้ความคิด และการมีเหตุผลจากการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้
          สามารถนำวิธีการแจกกระดาษที่รวดเร็วไปใช้กับเด็กได้

บรรยากาศในห้องเรียน
          บรรยากาศในห้องเรียนอบอุ่นและสนุกสนานในการเรียน เพื่อนๆช่วยคิดและช่วยกันตอบคำถาม

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์มีการจัดเตรียมการสอนมาอย่างดี และอธิบายวิธีการต่างๆพร้อมทั้งให้ดหตุผลประกอบ

วิเคราะห์ตนเอง
          ตั้งใจฟังอาจารย์และคอยจดบันทึกข้อมูลต่างๆ