วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  • การเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สหรับเด็กปฐมวัย
ตัวอย่างตารางการเขียนแผน

องค์ประกอบของแผนการจัดประสบการณ์
  1. วัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่ต้องการให้เด็กได้ หลังจากการทำกิจกรรม
  2. สาระการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น สาระที่ควรเรียนรู้  / ประสบการณ์สำคัญ
  3. กิจกรรมการเรียนรู้
  4. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
  5. การวัดและการประเมินผล
  6. การบูรณาการ
แนวคิดในการจัดประสบการณ์ คือ เครื่องมือที่เด็กจะใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินใจในชีวิตประจำวัน 
เช่น หน่วยยานพาหนะ

แนวคิด = ยานพาหนะเป็นสิ่งไม่มีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นมีชื่อเรียกแตกต่างกัน มีลักษณะ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ ที่อาจเหมือนและต่างกันต้องมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีทั้งประโยชน์และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากยานพาหนะ

ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่เด็กได้มีโอกาสกระทำ ประสบการณ์ทำให้เกิดการเรียนรู้ 
*การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อที่จะเอาตัวรอดในการดำรงชีวิตและนำมาสังเกตประเมินผลได้*

คุณลักษณะตามวัย  หมายถึง สิ่งที่ให้รู้พัฒนาการเด็กในแต่ละวัย เพื่อนำมาจัดประสบการณ์ให้ทรอดคล้องกับพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ เพื่อสามารถนำมาประเมินพัฒนาการเด็กในแต่ละด้าน
  • ตัวอย่างการบูรณาการศิลปะ หน่วยยานพาหนะ 
-การปั้น
-การวาดภาพ
-การประดิษฐ์
-การฉีก - ตัดปะ 
-การเล่นสี

การปั้น เช่น ให้เด็กปั้นเปเปอร์มาเช่ เป็นรูปยานพาหนะชนิดต่างๆ เกิดทักษะคณิตศาสตร์ คือ รูปทรง ลำดับขั้นตอน การประมาณ 

การประดิษฐ์ เช่น ให้เด็กประดิษฐ์ยานพาหนะจากวัสดุเหลือใช้ เกิดทักษะคณิตศาสตร์ คือ รูปทรง ขนาด 

การเล่นสี เช่น ให้เด็กเป่าสีและวาดภาพยานพาหนะ เกิดทักษะคณิตศาสตร์ คือ รูปทรง การประมาณ 
  •  6 กิจกรรมหลัก มีดังนี้
  1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  4. กิจกรรมเสรี
  5. กิจกรรมเกมการศึกษา
  6. กิจกรรมกลางแจ้ง

ทักษะ / ระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การคิดสร้างสรรค์
-การแก้ปัญหา
-การเชื่อมโยงความรู้
-การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

การประยุกต์ใช้ 
การเขียนแผนการจัดประสบการ์เป็นสิ่งสำคัญที่เราจำเป็นต้องใช้และเขียนให้ถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน สามารถนำทักษะการเรียนรู้ในวันนี้ไปใช้เป็นเทคนิคการเขียนแผนได้ ทั้งวิธีการเขียน และมีประสบการณ์ในการเขียนอีกด้วย

การจัดการเรียนการสอน
มีความเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนการสอน อาจารย์สอนอย่างละเอียด อธิบายในแต่ละหัวข้อและยกตัวอย่างให้เราเข้าใจ ทำให้เราเห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย พร้อมกับให้เราได้ลองเขียนและลงมือปฏิบัติ

วิเคราะห์ตนเอง
ในการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ทั้งเรื่องของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ และเข้าใจวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์มากขึ้นอีกด้วย 

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
  • เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน 
มีเทคนิคหลากหลายวิธีที่เราสามารถนำเข้าสู่บทเรียนได้ เช่น
-การใช้นิทาน
-การใช้คำคล้องจอง
-การใช้คำถาม
-การใช้ปริศนาคำทาย
-การใช้เพลง

นิทานอีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถนำเข้าสู่บทเรียนได้ในเรื่องของ ประโยชน์ และ โทษ เป็นการเล่าเรื่องราวให้เด็กได้เข้าใจมากขึ้น มีตัวละคร สถานการณ์ สถานที่ และยังสามารถบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าร่วมกับนิทานได้มากมาย ซึ่งเด็กก็สามารถคิดและจินตนาการตามตัวละครในเรื่องได้ และสามารถนำมาเชื่อโยงกับชีวิตประจำวันของเด็กได้ ทำให้เด็กคิดเห็นภาพและนึกถึงประโยชน์และโทษในเรื่องนั้นๆได้มากมาย 

บูรณาการคณิตศาสตร์ เช่น
-รูปทรง
-ขนาด การวัด
-การนับ
-การแยกประเภท

*สิ่งสำคัญในการการจัดการเรียนการสอน คือ ครู เพราะครูเป็นหัวใจของการพัฒนา >> นำไปสู่ความคิด >> การกระทำ >> เกิดเป็นทักษะและประสบการณ์ >>เชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ *

ทักษะ / ระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การแก้ปัญหา
-การทำงานร่วมกัน
-การนำแต่งเรื่องราว
-การเชื่อมโยงความรู้

การประยุกต์ใช้ 
ในการแต่งนิทานให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและบูรณาการคณิตศาสตร์นั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เรานำไปใช้ได้หลากหลาย สามารถบูรณาการในวิชาอื่นได้ ครั้งนี้เป็นประโยชน์ได้รู้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมและการใช้นิทานเป็นเทคนิคในการสอน สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคตที่สอนเด็ก

การจัดการเรียนการสอน
ชอบอาจารย์ที่คอยช่วยแนะนำเทคนิคต่างๆให้ โดยให้เราได้คิดเองและอาจารย์คอยช่วยเสริม เป็นการฝึกให้เราได้คิดและใช้ความรู้ในการเรียนการสอนได้มาก

วิเคราะห์ตนเอง
คอยถามอาจารย์ ในเรื่องที่ไม่เข้าใจหรือสงสัยและจดบันทึก

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
  • การสอนแบบเสริมประสบการณ์ โดยบูรณาการกับทักษะทางคณิตศาสตร์ 
ตัวอย่างการสอน หน่วยยานพาหนะ
กิจกรรมวัน อังคาร เรื่อง ลักษณะของยานพาหนะ

ขั้นนำ
- ครูเริ่มกิจกรรมโดยการถามปริศนาคำทาย ดังนี้

อะไรเอ่ย? มีปีกบินได้ พุ่งไปบนฟ้า ไม่ใช่นกกา หน้าตาแปลกๆ (เครื่องบิน)
อะไรเอ่ย? มีล้อหมุน เครื่องยนต์ก็มี ขับเร็วด่วนจี๋ ถึงที่ปลอดภัย (รถยนต์)
อะไรเอ่ย? โลดแล่นอยู่ในแม่น้ำลำคลอง และ ท้องทะเล (เรือ)


ขั้นสอน
-ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับยานพาหนะ พร้อมให้เด็กดูภาพยานพาหนะทั้ง 3 ประเภท ใช้คำถามให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆของยานพาหนะ คุณครูบันทึกลงตารางข้อมูล ใช้คำถามในการสอน เช่น

เด็กๆช่วยกันดูรถยนต์ของเราสิว่ามีสีอะไร ?
เด็กๆคิดว่ารถยนต์ของเรามีรูปทรงอะไรบ้าง?
เด็กๆคิดว่ารถยนต์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง? 


ขั้นสรุป
-ครูสรุปลักษณะยานพาหนะจากตาราง โดยทบทวนความรู้ต่างๆ ให้เด็กช่วยกันนับ และครู แทนค่าโดยตัวเลข ให้เด็กเปรียบเทียบยานพาหนะทั้งสามชนิดว่ามีรูปทรงอะไรเหมือนกันบ้าง?

เกิดทักษะคณิตศาสตร์ ดังนี้
-การจัดหมวดหมู่
-การนำเสนอ
-รูปทรง 
-ขนาด
-การเปรียบเทียบ

ทักษะ / ระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การแก้ปัญหา
-การทำงานร่วมกัน
-การนำเสนอข้อมูล
-การเชื่อมโยงความรู้

การประยุกต์ใช้ 
ได้ทดลองสอน เห็นความหลากหลายของแต่ละกลุ่มและสามารถนำหน่วยต่างๆไปใช้ได้ในการสอนเด็กจริง ได้ปรับใช้การสอนให้สมบูรณ์มากขึ้นด้วย

การจัดการเรียนการสอน
ห้องเรียนสะอาด เรียบร้อย อาจารย์คอยแนะนำวิธีการสอนต่างๆให้แต่ละกลุ่มอย่างละเอียด และเข้าใจ อธิบายให้เห็นภาพจริงและสามารถไปใช้ได้จริง

วิเคราะห์ตนเอง
ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้ดี อาจมีข้อผิดพลาดในการสอนบ้างเล็กน้อยเพราะเป็นครั้งแรก แต่ก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  • การสอนแบบเสริมประสบการณ์ โดยบูรณาการกับทักษะทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่าง หน่วย ยานพาหนะ โดยแบ่งหัวข้อให้ครบ ทั้ง 5 วันหากิจกรรมที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันจาก นามธรรม ไปสู่ รูปธรรม และบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์ 
*สอนแบบเรียนปนเล่น*

วันจันทร์ >> ประเภทของยานพาหนะ
วันอังคาร >> ลักษณะ
วันพุธ >> การดูแลรักษา
วันพฤหัสบดี >> ประโยชน์
วันศุกร์ >> โทษ 

ตัวอย่างการสอน วันอังคารเกี่ยวกับ ลักษณะของยานพาหนะ

ขั้นนำ 
-ครูพูดคุยสนทนากับเด็กเกี่ยวกับยานพาหนะ และใช้ปริศนาคำถามให้เด็กทายว่าคือยานพาหนะอะไร ?และเป็นยานพาหนะประเภทใด?

ขั้นสอน
-ครูให้เด็กดูรูปภาพยานพาหนะ ทั้ง 3 ประเภท และให้เด็กสังเกต ตอบคำถามเกี่ยวกับลักษณะของยานพาหนะ โดยนำเสนอเป็นรูปแบบแผนภูมิ ดังนี้


เกิดทักษะคณิตศาสตร์ ดังนี้
-การจัดหมวดหมู่
-การนำเสนอ
-รูปทรง 
-ขนาด
-การเปรียบเทียบ

ขั้นสรุป
-ครูสรุปลักษณะของยานพาหนะแต่ละประเภท

ทักษะ / ระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การแก้ปัญหา
-การทำงานร่วมกัน
-การแสดงความคิดเห็น
-การเชื่อมโยงความรู้

การประยุกต์ใช้ 
นำกิจกรรมที่ช่วยกันคิด ไปปรับใช้ได้ในอนาคต ซึ่งจะทดลองสอนในอาทิตย์หน้า ทำให้เป็นการฝึกประสบการณ์ในการสอน
การจัดการเรียนการสอน
ห้องเรียนใหม่ สะอาด เก้าอี้พร้อม แต่แสงเข้าห้องมากเกินไป อุปกรณ์ในการจัดการสอนไม่พร้อม แต่อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายให้เข้าใจอย่างละเอียด ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ และช่วยกันแสดงความคิดเห็น 

วิเคราะห์ตนเอง
ตั้งใจฟังและแสดงความคิดเห็น ตอบคำถามต่างๆ จดบันทึกเนื้อหาสำคัญ 

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  • รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะนำไปสอน โดยสอดคล้องกับ สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ให้ครบทั้ง 5 วัน เพื่อนำองค์ความรู้ต่างๆมาเขียนแผนประสบการณ์การเรียนรู้ และสอนบูรณการให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ 
ตัวอย่างเช่น
เรื่อง ยานพาหนะ แบ่งออกเป็น
-ประภทของยานพาหนะ เช่น
   ทางบก
   ทางน้ำ
   ทางอากาศ
-ลักษณะของยานพาหนะ เช่น
   รูปทรง
   สี
-การดูแลรักษายานพาหนะ เช่น
   ทำความสะอาด
   ล้าง
-ข้อควรระวัง 
-ประโยชน์ของยานพาหนะ เช่น
   สะดวกในการเดินทาง 

ทักษะ / ระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้ 
สามารถนำองค์ความรู้ไปสอนให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ได้ โดยการสร้างสรรค์และออกแบบการสอน

การจัดการเรียนการสอน
ห้องเรียนไม่ค่อยพร้อมเนื่องจากกำลังย้ายสถานที่ในการเรียนการสอน

วิเคราะห์ตนเอง
จดบันทึกตัวอย่างในการทำองค์ความรู้ต่างๆ  

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน 
  • ประดิษฐิ์สื่อ บล็อกรูปทรง จากวัสดุเหลือใช้
วัสดุ อุปกรณ์
- ลัง
- คัตเตอร์
- กาว
- ไม้บรรทัด

วิธีการทำ  

นำลังมาวัดขนาดที่ต้องการ ตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า จากนั้นตัดให้เหลือขอบประมาน 2 เซ็นติเมตร


นำกระดาษที่เหลือด้านใน มาสร้างรูปทรงต่างๆ  เพื่อเป็นบล็อก


จากนั้นนำกระดาษมาปิดด้านหลัง เพื่อไม่ให้หล่น และตกแต่งให้สวยงาม



ทักษะ / ระดมความคิด
-การแก้ปัญหาในการทำงาน
-การใช้ความคิด และวิเคราะห์
-การวัด การเปรียบเทียบ
-การวางแผน

การประยุกต์ใช้ 
-สื่อต่างๆหรือเกมส์การศึกษา เราสามารถนำมาประดิษฐิ์ได้ง่ายๆจากวัสดุเหลือใช้ ตามความคิดสร้างสรรค์

บรรยากาศในห้องเรียน
พื้นสะอาด เก้าอี้จัดเรียบร้อย

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์อธิบายและแนะนำการประดิษฐิ์  บอกเทคนิคต่างๆ

วิเคราะห์ตนเอง
ประดิษฐิ์ผลงานได้เสร็จ และช่วยเพื่อนทำ

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
  • การประดิษฐ์สื่อเกมการศึกษาเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ คือ การประดิษฐ์ตาราง
สามารถนำมาเป็นสื่อในเกมการศึกษาได้หลากหลายเกม เช่น
- บิงโก
- หมากฮอต
- จับคู่ภาพเหมือน
- การหาภาพที่เป็นรูปทรงต่างๆ
- รูปทรง 
- จัดหมวดหมู่
-ทำตามรูปแบบ

อุปกรณ์ในการทำตาราง
- การคิดออกแบบสื่อโดยใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น
ลัง
กระดาษที่ไม่ใช้
เทปกาว
สติกเกอร์ใส
ดินสอ / ไม้บรรทัด / คัตเตอร์ / กาว

ขั้นตอนการทำ 

1. นำลังมาตัดให้ได้รูปทรงสี่เหลี่ยม และตีตารางให้เท่าๆกัน


2. ตัดแบ่งครึ่งให้มีขนาดเท่ากัน


3. นำเทปการติดสี่เหลี่ยมทั้งสอง ต่อกันเพื่อให้พับได้ 


4. วัดขนาดของสี่เหลี่ยมและตัดการดาษให้เท่า จากนั้นแปะลงสี่เหลี่ยม


 5. ตีตารางลงกระดาษ โดยให้มีขนาดใหญ่เท่าๆกัน


6. นำเทปสีแปะลงตามเส้นที่ตีไว้ จากนั้นใช้สติกเกอร์ใสเคลือบให้เรียบร้อย


ผลงานสื่อการทำตารางในการทำกิจกรรมคณิตศาสตร์

ลำดับการเรียนรุ้ของเด็ก
ประสบการณ์จริง >> ภาพ >> สัญลักษณ์

ทักษะ / ระดมความคิด
-การแก้ปัญหา
-การวางแผน
-การวัด คาดคะเน
-การคิด วิเคราะห์
-การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้ 
-สามารถนำขั้นตอนวิธีการทำสื่อตารางไปประดิษฐ์เป็นเกมส์การศึกษาและเด็กสามารถเล่นได้อย่างหลากหลาย โดยสื่อจะไม่ยึดติดเกมใดเกมหนึ่ง ควรประดิษฐ์ให้มีความน่าสนใจและใช้ได้หลากหลาย

บรรยากาศในห้องเรียน
สะอาด เรียบร้อบ เมื่อประดิษฐ์เสร็จก็ช่วยกันเก็บกวาด

การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลองทำ ได้แก้ปัญหาด้วยตนเอง อธิบายและแนะนำอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย

วิเคราะห์ตนเอง
ช่วยเพื่อนทำ และ จดบันทึกความรู้เพิ่มเติม
 

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศึกษาดูงาน โรงเรียนพิบูลเวศม์



ตัวอย่างสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์  

 

การจัดการเรียนการสอน
มีการจัดการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ที่ครบทั้ง 6 สาระ คือ
- สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
- สาระที่ 2 การวัด
- สาระที่ 3 เรขาคณิต 
- สาระที่ 4 พีชคณิต
- สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
โดยให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริง และคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก 

 บรูณาการคณิตศาสตร์รูปแบบการเรียนการสอนแบบโปรเจค 
เรื่อง หิน 
เกิดทักษะคณิตศาสตร์ ดังนี้ 
-การคาดคะเน
-การเปรียบเทียบ ความหนักเบา 
-การวัด โดยใช้เป็น คืบ 
-การนับหิน 
-การบอกจำนวน
-รูปทรง
-การนำเสนอ 



 บรูณาการคณิตศาสตร์รูปแบบการเรียนการสอนแบบโปรเจค 
เรื่อง ส้ม 

เกิดทักษะคณิตศาสตร์ ดังนี้ 
- การตวง น้ำหนัก ปริมาตร 
- การคาดคะเน
- รูปทรง 
- การนับจำนวน 
- การรู้ค่าของจำนวน