วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  • การสอนแบบเสริมประสบการณ์ โดยบูรณาการกับทักษะทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่าง หน่วย ยานพาหนะ โดยแบ่งหัวข้อให้ครบ ทั้ง 5 วันหากิจกรรมที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันจาก นามธรรม ไปสู่ รูปธรรม และบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์ 
*สอนแบบเรียนปนเล่น*

วันจันทร์ >> ประเภทของยานพาหนะ
วันอังคาร >> ลักษณะ
วันพุธ >> การดูแลรักษา
วันพฤหัสบดี >> ประโยชน์
วันศุกร์ >> โทษ 

ตัวอย่างการสอน วันอังคารเกี่ยวกับ ลักษณะของยานพาหนะ

ขั้นนำ 
-ครูพูดคุยสนทนากับเด็กเกี่ยวกับยานพาหนะ และใช้ปริศนาคำถามให้เด็กทายว่าคือยานพาหนะอะไร ?และเป็นยานพาหนะประเภทใด?

ขั้นสอน
-ครูให้เด็กดูรูปภาพยานพาหนะ ทั้ง 3 ประเภท และให้เด็กสังเกต ตอบคำถามเกี่ยวกับลักษณะของยานพาหนะ โดยนำเสนอเป็นรูปแบบแผนภูมิ ดังนี้


เกิดทักษะคณิตศาสตร์ ดังนี้
-การจัดหมวดหมู่
-การนำเสนอ
-รูปทรง 
-ขนาด
-การเปรียบเทียบ

ขั้นสรุป
-ครูสรุปลักษณะของยานพาหนะแต่ละประเภท

ทักษะ / ระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การแก้ปัญหา
-การทำงานร่วมกัน
-การแสดงความคิดเห็น
-การเชื่อมโยงความรู้

การประยุกต์ใช้ 
นำกิจกรรมที่ช่วยกันคิด ไปปรับใช้ได้ในอนาคต ซึ่งจะทดลองสอนในอาทิตย์หน้า ทำให้เป็นการฝึกประสบการณ์ในการสอน
การจัดการเรียนการสอน
ห้องเรียนใหม่ สะอาด เก้าอี้พร้อม แต่แสงเข้าห้องมากเกินไป อุปกรณ์ในการจัดการสอนไม่พร้อม แต่อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายให้เข้าใจอย่างละเอียด ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ และช่วยกันแสดงความคิดเห็น 

วิเคราะห์ตนเอง
ตั้งใจฟังและแสดงความคิดเห็น ตอบคำถามต่างๆ จดบันทึกเนื้อหาสำคัญ 

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  • รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะนำไปสอน โดยสอดคล้องกับ สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ให้ครบทั้ง 5 วัน เพื่อนำองค์ความรู้ต่างๆมาเขียนแผนประสบการณ์การเรียนรู้ และสอนบูรณการให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ 
ตัวอย่างเช่น
เรื่อง ยานพาหนะ แบ่งออกเป็น
-ประภทของยานพาหนะ เช่น
   ทางบก
   ทางน้ำ
   ทางอากาศ
-ลักษณะของยานพาหนะ เช่น
   รูปทรง
   สี
-การดูแลรักษายานพาหนะ เช่น
   ทำความสะอาด
   ล้าง
-ข้อควรระวัง 
-ประโยชน์ของยานพาหนะ เช่น
   สะดวกในการเดินทาง 

ทักษะ / ระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้ 
สามารถนำองค์ความรู้ไปสอนให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ได้ โดยการสร้างสรรค์และออกแบบการสอน

การจัดการเรียนการสอน
ห้องเรียนไม่ค่อยพร้อมเนื่องจากกำลังย้ายสถานที่ในการเรียนการสอน

วิเคราะห์ตนเอง
จดบันทึกตัวอย่างในการทำองค์ความรู้ต่างๆ  

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน 
  • ประดิษฐิ์สื่อ บล็อกรูปทรง จากวัสดุเหลือใช้
วัสดุ อุปกรณ์
- ลัง
- คัตเตอร์
- กาว
- ไม้บรรทัด

วิธีการทำ  

นำลังมาวัดขนาดที่ต้องการ ตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า จากนั้นตัดให้เหลือขอบประมาน 2 เซ็นติเมตร


นำกระดาษที่เหลือด้านใน มาสร้างรูปทรงต่างๆ  เพื่อเป็นบล็อก


จากนั้นนำกระดาษมาปิดด้านหลัง เพื่อไม่ให้หล่น และตกแต่งให้สวยงาม



ทักษะ / ระดมความคิด
-การแก้ปัญหาในการทำงาน
-การใช้ความคิด และวิเคราะห์
-การวัด การเปรียบเทียบ
-การวางแผน

การประยุกต์ใช้ 
-สื่อต่างๆหรือเกมส์การศึกษา เราสามารถนำมาประดิษฐิ์ได้ง่ายๆจากวัสดุเหลือใช้ ตามความคิดสร้างสรรค์

บรรยากาศในห้องเรียน
พื้นสะอาด เก้าอี้จัดเรียบร้อย

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์อธิบายและแนะนำการประดิษฐิ์  บอกเทคนิคต่างๆ

วิเคราะห์ตนเอง
ประดิษฐิ์ผลงานได้เสร็จ และช่วยเพื่อนทำ

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
  • การประดิษฐ์สื่อเกมการศึกษาเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ คือ การประดิษฐ์ตาราง
สามารถนำมาเป็นสื่อในเกมการศึกษาได้หลากหลายเกม เช่น
- บิงโก
- หมากฮอต
- จับคู่ภาพเหมือน
- การหาภาพที่เป็นรูปทรงต่างๆ
- รูปทรง 
- จัดหมวดหมู่
-ทำตามรูปแบบ

อุปกรณ์ในการทำตาราง
- การคิดออกแบบสื่อโดยใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น
ลัง
กระดาษที่ไม่ใช้
เทปกาว
สติกเกอร์ใส
ดินสอ / ไม้บรรทัด / คัตเตอร์ / กาว

ขั้นตอนการทำ 

1. นำลังมาตัดให้ได้รูปทรงสี่เหลี่ยม และตีตารางให้เท่าๆกัน


2. ตัดแบ่งครึ่งให้มีขนาดเท่ากัน


3. นำเทปการติดสี่เหลี่ยมทั้งสอง ต่อกันเพื่อให้พับได้ 


4. วัดขนาดของสี่เหลี่ยมและตัดการดาษให้เท่า จากนั้นแปะลงสี่เหลี่ยม


 5. ตีตารางลงกระดาษ โดยให้มีขนาดใหญ่เท่าๆกัน


6. นำเทปสีแปะลงตามเส้นที่ตีไว้ จากนั้นใช้สติกเกอร์ใสเคลือบให้เรียบร้อย


ผลงานสื่อการทำตารางในการทำกิจกรรมคณิตศาสตร์

ลำดับการเรียนรุ้ของเด็ก
ประสบการณ์จริง >> ภาพ >> สัญลักษณ์

ทักษะ / ระดมความคิด
-การแก้ปัญหา
-การวางแผน
-การวัด คาดคะเน
-การคิด วิเคราะห์
-การสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้ 
-สามารถนำขั้นตอนวิธีการทำสื่อตารางไปประดิษฐ์เป็นเกมส์การศึกษาและเด็กสามารถเล่นได้อย่างหลากหลาย โดยสื่อจะไม่ยึดติดเกมใดเกมหนึ่ง ควรประดิษฐ์ให้มีความน่าสนใจและใช้ได้หลากหลาย

บรรยากาศในห้องเรียน
สะอาด เรียบร้อบ เมื่อประดิษฐ์เสร็จก็ช่วยกันเก็บกวาด

การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลองทำ ได้แก้ปัญหาด้วยตนเอง อธิบายและแนะนำอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย

วิเคราะห์ตนเอง
ช่วยเพื่อนทำ และ จดบันทึกความรู้เพิ่มเติม
 

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศึกษาดูงาน โรงเรียนพิบูลเวศม์



ตัวอย่างสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์  

 

การจัดการเรียนการสอน
มีการจัดการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ที่ครบทั้ง 6 สาระ คือ
- สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
- สาระที่ 2 การวัด
- สาระที่ 3 เรขาคณิต 
- สาระที่ 4 พีชคณิต
- สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
โดยให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริง และคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก 

 บรูณาการคณิตศาสตร์รูปแบบการเรียนการสอนแบบโปรเจค 
เรื่อง หิน 
เกิดทักษะคณิตศาสตร์ ดังนี้ 
-การคาดคะเน
-การเปรียบเทียบ ความหนักเบา 
-การวัด โดยใช้เป็น คืบ 
-การนับหิน 
-การบอกจำนวน
-รูปทรง
-การนำเสนอ 



 บรูณาการคณิตศาสตร์รูปแบบการเรียนการสอนแบบโปรเจค 
เรื่อง ส้ม 

เกิดทักษะคณิตศาสตร์ ดังนี้ 
- การตวง น้ำหนัก ปริมาตร 
- การคาดคะเน
- รูปทรง 
- การนับจำนวน 
- การรู้ค่าของจำนวน