วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  • การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา โดยครูตั้งปัญหาให้เด็กได้ทดลองลงมือทำ แก้ปัญหา และสร้างผลงานของตนเอง โครงส้รางมีดังนี้  
วิเคราะห์แนวคิด
v
v
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
v
v
ลงมือทำ (เกิดการแก้ปัญหา)
v
v
นำเสนอ

ตัวอย่างกิจกรรม 
-จัดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรง ให้เด็กคุ้นเคยกับรูปทรงต่างๆผ่านการเล่นบล็อก เกมส์การศึกษา หรือสิ่งต่างๆรอบตัว 
-ครูทำรูปแบบที่ให้เด็กเห็นภาพจริง เช่น การตัดไม้มาต่อเป็นรูปร่างแล้วเอาดินน้ำมันเป็นฐานยึด
-เด็กยังไม่เห็นด้านของรูปทรงนั้นๆ วิธีการเรียนรู้ คือ ครูให้เด็กตัดกระดาษมาแปะ ตามด้านของรูปทรงนั้นๆ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้น เกิดทักษะต่างๆ คือ
E (engineering) = โครงส้ราง
S (Science) = ดินน้ำมัน ไม้
T (technology) = การนำเสนอ
M (mathematics) = จำนวนนับไม้ จำนวนมุม ความสั้น ยาว การวัด รูปทรง
  • การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์บรูณาการศิลปะสร้างสรรค์
- การสร้างโมเดลโครงสร้างรูปทรง ให้เด็กต่อเติเป็นรูปต่างๆ ผ่านศิลปะ
-ให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ แล้วนำมาบรูณาการคณิตศาสตร์ ได้ 2 แบบ คือ
     1. ถามเด็กโดยตั้งจำนวนก่อน เช่น ในภาพของเด็กๆ มีอะไรบ้างที่มี 3 จำนวน
     2. ให้เด็กนับจำนวนจากสิ่งที่เด็กวาดว่ามีจำนวนเท่าไหร่

*ครูอนุบาลต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมาและจัดประสบการณ์* การจัดประสบการณ์นั้นต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเพราะ

ประสบการณ์เดิม >> สู่ประสบการณ์ใหม่ >> สู่การปรับโครงสร้าง >> การรับรู้ >> เกิดการเรียนรู้ >> เพื่อเอาตัวรอด

ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการแก้ปัญหา
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะรูปทรง
-ทักษะการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้ 
-วิธีการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กนั้นเราต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมา แล้วนำมาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กให้เด็ก สามารถดึงทุกอย่างมาบูรณาการในคณิตศาสตร์ได้ 

บรรยากาศในห้องเรียน
โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหา

วิเคราะห์ตนเอง
มีส่วนร่วมในการตอบคำถามมากขึ้น เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น 

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
  • การจัดประสบการณ์เรื่อง รูปทรง
การจัดประสบการณ์จัดให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กนำแผ่นกระดาษมาต่อให้เป็นรูปทรงต่างๆโดยใช้ 2 แผ่น และ 3 แผ่น สามารถเป็นรูปทรงอื่นๆได้อีกหลายรูป ก่อนที่จะให้เด็กวาดลงในกระดาษแล้วตัดออกมา รูปทรงที่ตัดออกมาจะเป็นรูปทรงเดียวกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนให้เด็กสืบเสาะ ให้เด็กได้ลงมือทำอย่างอิสระ และเลือกตัดสินใจด้วยนตนเอง
  • การจัดกิจกรรมนั้นต้องคำนึงสิ่งต่างๆดังนี้
จัดกิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ >>> สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน >>> เนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ >>> เด็กเกิดการเรียนรู้

-วิธีการเรียนรู้ หมายถึง การให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กที่บ่งบอกว่าเด็กจะทำอะไรได้บ้างในระดับอายุ 
-การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลังจากเด็กได้รับความรู้ 
  • การสอนแบบ Project Approach

สามารถทรอดแทรกทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น

-ขั้นตอนในการสอน เป็นการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในเรื่องของการเรียงลำดับ ก่อน-หลัง ว่าสิ่งใดควรทำก่อนและหลัง
-การอธิปาย เป็นการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในสาระที่ 5 ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
-การจัดการแสดง เด็กได้คณิตศาสตร์ในการจัดหมวดหมู่ของการนำเสนอ จัดพื้นที่ต่างๆและจัดกลุ่มคน
-การทำมายแมพและผลงานสามารถทรอดแทรกคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ เช่น การวาดรูปทรง การทำตารางแบ่งกลุ่ม การทำวงกลมเปรียบเทียบความเหมือน-ต่าง

ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการนับจำนวน
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะเรื่องรูปทรง 
-ทักษะการแก้ปัญหา

การประยุกต์ใช้ 
-จัดประสบการ์ให้แก่เด็กได้โดยต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด

บรรยากาศในห้องเรียน
โต๊ะ เก้าอี้สะอาดเรียบร้อย อากาศหนาวเย็น อุปกรณ์พร้อมในการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ และเน้นย้ำสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงในการจัดประสบการณ์ มีเตรียมการเรียนการสอน 

วิเคราะห์ตนเอง
ตอบคำถามมากขึ้น จดบันทึกเนื้อหา และมีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
  • การจัดประสบการณ์เรียนรู้การทำปฎิทินวันเกิด เกิดทักษะเรื่องตัวเลขฮินดูอาราบิก การนับ การเรียงลำดับ สี 
  • การเรียนรู้เกิดได้หลังจากเด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง
  • วิธีการเรียนรู้ คือ การลงมือปฎิบัติ
  • เครื่องมือในการเรียนรู้ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
ความคิดเชิงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

สาระที่ 1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน การใช้จำนวนในชีวิตจริง
     -การนับ 
     -เรียงลำดับ เปรีบเทียบ 
     -การรวม การแยกกลุ่ม
สาระที่ 2 มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนั ปริมาตร เงิน เวลา 
     -การเปรียบเทียบ > การวัด > เรียงลำดับความยาว
     -การเปรียบเทียบ > การชั่ง > น้ำหนัก 
     -การเปรียบเทียบ > ปริมาตร > การตวง
     -ช่วงเวลา
สาระที่ 3 ความรู้พื้นฐานเรขาคณิต ตำแหน่ ทิศทาง ระยะทาง
สาระที่ 4 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
     - Pattern
สาระที่ 5 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเอง 
     -นำเสนอแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     -การแก้ปัญหา ให้เหตุผล การสื่อสาร
     
ประเภทสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
  1. การจับคู่
  2. ภาพตัดต่อ
  3. สังเกตรายละเอียดภาพ
  4. โดมิโน้
  5. ความสัมพันธ์ 2 แกน
  6. เรียงลำดับ
  7. จัดหมวดหมู่ / กลุ่ม
  8. เกมส์พื้นฐานการบวก
นำเสนอของเล่นเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

เพลงจัปปู
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้าสิบ       ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

เพลงนกกระจิบ 
นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบตัว

เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน    มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว      มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า          นับต่อมา หก เจ็ด แปดเก้าสิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีรอ    นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง บวก - ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ    ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ    ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ     หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ    ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ

เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง     ไข่วันละฟองไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน     หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)

เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้     น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป     นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับ)


ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการทำงานร่วมกัน
-การพูดหน้าชั้นเรียน
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการแก้ปัญหา

การประยุกต์ใช้ 
-นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กและใช้เทคนิคต่าๆสอนเด็ก การร้องเพลงเพื่อดึงดูดความสนใจ

บรรยากาศในห้องเรียน
อุปกรณ์การเรียนการสอนพร้อม ห้องเรียนสะอาด

การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการเรียนการสอน อธิบาย ให้คำแนะนำต่างๆ ร้องเพลงเพราะน่าฟัง

วิเคราะห์ตนเอง
มีความรู้เข้าใจมากขึ้น จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม

เรียนชดเชย

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 14.30 - 17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  • ความรู้คณิตศาสตร์เรื่องของเวลาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการทำ   ตารางเวลาตื่นนอน เด็กได้รับประสบการณ์เรื่องเวลา ก่อน - หลัง    และเด็กสามารถได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
-เรื่องการนับ
-จำนวน
-ตัวเลขฮินดูอารบิก
-การเปรียบเทียบ
-การแบ่งกลุ่ม
-เรื่องเวลา
ตัวอย่างตารางเวลาตื่นนอน

  • หลักการจัดการเรียนการสอน
-กิจกรรมต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กและวิธีการเรียนรู้
-เด็กได้รับประสบการณ์จึงทำให้เกิดการเรียนรู้
-เด็กใช้เครื่องมือ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5
-ให้ผู้ปกครองบันทึกข้อมูลเวลาตื่นนอนของเด็ก

ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการคิดวิเคราห์

การประยุกต์ใช้ 
-จัดการเรียนการสอนประสบการณ์เรื่อง เวลา ให้เด็กได้เข้าใจ มีความรู้เกี่ยวกับเวลา การจัดประสบการณ์จากความรู้เดิมของเด็กไปสู่ความรู้ใหม่ ในการใช้ชีวิตประจำวัน

บรรยากาศในห้องเรียน
โต๊ะเก้าอี้สะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมในการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน อธิบายละเอียดและยกตัวอย่างประกอบ

วิเคราะห์ตนเอง
จดบันทึกสิ่งสำคัญ มีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์